‘หมูดำดอยตุง’ สัตว์พื้นเมืองที่สามารถแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

คุณภาพเนื้อของหมูดำดอยตุงอุดมไปด้วยโปรตีน และไขมัน โดยสีของเนื้อค่อนข้างเข้มกว่าเนื้อสุกรในท้องตลาด และยังพบไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน รวมถึงกรดไขมันโอเมกา 3, 6, 9 ซึ่งโดยรวมนั้นมีแนวโน้มสูงกว่าเนื้อสุกรในท้องตลาดทั่วไป และสามารถเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น

     -        อาข่าซาโก ซึ่งมีลักษณะเป็นเนื้อแห้งที่ปรุงรสด้วยเครื่องเทศ เครื่องปรุงที่ใช้วัตถุดิบบนดอยตุง

     -        ไส้กรอกรมควันหมูดำดอยตุง โดยใช้องค์ความรู้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการผลิตไส้กรอกสไตล์เยอรมัน

     -      ดอยตุงแฮม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการทดลองผลิต ณ โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เชียงใหม่ โดยดอยตุงแฮมเป็นแฮมดิบที่มีรสชาติเข้มข้น ผ่านการบ่มมากกว่า 6 เดือน แปรรูปจากเนื้อหมูดำส่วนสะโพก ซึ่งใช้เกลือและความเย็นเป็นปัจจัยหลักในการผลิต

 

นำเสนอบทความโดย

นายวุฒิชัย ลัดเครือ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญ​​ กองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์

เผยแพร่ในนิตยสาร Food Focus Thailand ฉบับเดือน ต.ค. 2567 หน้า 18 - 21  

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านที่ลิงค์นี้ได้เลย

https://www.foodfocusthailand.com/eBook/SupMeat74/mobile/index.html#p=18

 

11 10 67 new

"Natural ingredients and probiotics for lowering cholesterol and saturated fat in dairy products: An updated review"

ผลิตภัณฑ์นมมีบทบาทสำคัญในการสร้างหลักประกันให้ชีวิตมีสุขภาพที่ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนทั่วโลก ในฐานะนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราจะมีแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเพื่อเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่ดีขึ้นได้อย่างไร ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เชียงใหม่ กองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ขอนำเสนอบทความปริทัศน์ (Review Article) ภายใต้หัวข้อ "Natural ingredients and probiotics for lowering cholesterol and saturated fat in dairy products: An updated review" เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่ดีขึ้น โดยผู้นำเสนอบทความได้รวบรวมข้อมูล การใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติและโปรไบโอติกสําหรับการลดคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวในผลิตภัณฑ์นม
ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านที่ Link ด้านล่างได้เลย
บทความทางวิชาการได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร : Quality Assurance and Safety of Crops&Foods (Open access)
สามารถดาวโหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ Link : https://qascf.com/index.php/qas/article/view/1269

4 4 2566

 
เชิญชวนทุกท่านมาร่วมค้นหา
 
 
🥩ในอุตสาหกรรม​การตัดแต่งเนื้อสัตว์​ มีผลพลอย​ได้ (Co-products)​ ที่เหลือจากกระบวนการเกิดขึ้นถึง​ 30-50%  
หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อต้นทุนของอุตสาหกรรม​และสิ่งแวดล้อม
 
🧑‍🏫📖นำเสนอบทความโดย
​ น.ส.เอื้อง​พลอย​ ใจ​ลังกา​ นักวิทยาศาสตร์​ชำนาญ​การ​พิเศษ​ กองผลิตภัณฑ์​ปศุสัตว์​  กรมปศุสัตว์
 
📚เผยแพร่ในนิตยสาร​ Food​ Focus​ Thailand​ ฉบับเดือน​ มี.ค.​ 2566 หน้า​ 28-33  
 
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านที่ลิงค์​นี้ได้เลย
454810