โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนยแข็งจากน้ำนมกระบือชนิดไม่ผ่านกระบวนการบ่ม

โดยใช้เอนไซม์จากพืชสำหรับกระบวนการตกตะกอนโปรตีน

จรัสศรี แก้วฝั้น เอื้องพลอย ใจลังกา   อำพล วริทธิธรรม

บทคัดย่อ

ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนยแข็งจากน้ำนมกระบือชนิดไม่ผ่านกระบวนการบ่ม โดยใช้เอนไซม์จากพืชสำหรับกระบวนการตกตะกอนโปรตีนนั้น ใช้เอนไซม์โบรมิเลนในน้ำสับปะรดในการตกตะกอนโปรตีนเคซีนในน้ำนม เนื่องจากสับปะรดเป็นผลไม้ที่หาง่ายในประเทศไทย และมีทุกฤดูกาล อีกทั้งยังเป็นเอนไซม์ที่มีการยอมรับให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ โดยได้ทำการศึกษาถึงผลการศึกษา pH ของน้ำสับปะรดที่เหมาะสมในกระบวนการแปรรูป พบว่าน้ำสับปะรดที่ pH เท่ากับ 3.97 (ประมาณ 4) เหมาะสมในการนำไปตกตะกอนโปรตีนในกระบวนการผลิตเนยแข็ง เพราะได้ปริมาณร้อยละของผลผลิต (22.7±0.22%) ค่าความแน่นเนื้อ (240.4±7.37 g/sec) สูงที่สุด และค่าปริมาณความชื้น (12.88 ±0.15%) ต่ำที่สุด เมื่อใช้น้ำสับปะรดที่มี pH เท่ากับ 3.97 มาศึกษาปริมาณของน้ำสับปะรดที่เหมาะสมกับการผลิตเนยแข็งชนิดสดจากน้ำนมกระบือโดยใช้ปริมาณที่ร้อยละ 0.15, 0.20, 0.25 และ 0.30 พบว่าการใช้น้ำสับปะรดที่ปริมาณเท่ากับร้อยละ 0.20 เหมาะสมในการนำไปตกตะกอนโปรตีนในกระบวนการผลิตเนยแข็งที่สุด โดยให้ผลร้อยละของผลผลิต (27.3±0.05%) การวัดเนื้อสัมผัส (275.2±3.37g/sec) และค่าปริมาณความชื้น (10.95±0.12%) และมีค่าคะแนนความชอบเท่ากับ ชอบ โดยคะแนนความชอบทางด้านลักษณะปรากฏ (6.5±1.20) กลิ่น (6.5±1.56) รสชาติ (6.5±0.54) ลักษณะเนื้อสัมผัส (7.2±1.20) และการยอมรับโดยรวม (7.0±0.18) โดยผลต่อความชอบด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และการยอมรับโดยรวม แตกต่างจากตัวอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) อีกทั้งยังมีและปริมาณความชื้น (10.95±0.12%) และต้นทุนการผลิตที่กิโลกรัมละ 293.04 บาท ที่ต่ำที่สุดในการศึกษานี้

คำสำคัญ : นมกระบือ สับปะรด เนยแข็งชนิดไม่ผ่านการบ่ม

เลขทะเบียนวิจัย : 62(2)-0423-105

ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เชียงใหม่ กองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

Development of buffalo fresh cheese by plant enzyme for protein denaturation method

Abstract

The development of buffalo fresh cheese by plant enzyme for protein denaturation method used bromelain enzyme in pineapple juice for protein denaturation method. Because in Thailand pineapple were easy to buy in all year round and accept to use in food industry. This project study pH of pineapple juice for protein denaturation method. The suitable pineapple juice was pH 3.97 (~4) because percentage of productivity (22.7±0.22%) fullness (240.4±7.37 g/sec) and moisture (12.88 ±0.15%). Study value of pineapple juice (pH 3.97) for protein denaturation method were 0.15%, 0.20%, 0.25% and 0.30%. The suitable value of pineapple juice (pH 3.97) for protein denaturation method were 0.20%. The product that using this process has significantly affected on percentage of productivity (27.3±0.05%) fullness (275.2±3.37 g/sec) moisture (12.88 ±0.15%) and accepted by panelists with like of consumer sensory test (P0.05) on appearance (6.5±1.20), odor (6.5±1.56), flavor (6.5±0.54), texture (7.2±1.20) and overall acceptability (7.0±0.18). The production costs of buffalo fresh cheese were 293.04 bath/kilogram.

Keyword : Buffalo milk, pineapple, fresh cheese

Registered No. : 62(2)-0423-105

Chiang mai livestock product research and development center, Division of livestock products, Department of Livestock Development